วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

หลักการใช้สีในการออกแบบ

                                                         


 หลักการใช้สี
 การใช้สีกับงานออกมานั้น อยู่ที่นักออกแบบมีจุดมุ่งหมายใด ที่จะสร้างความสนใจ ความเร้าใจต่อผู้ดู เพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่ตนต้องการ หลักของการใช้มีดังนี้
1.การใช้สีวรรณะเดียว 
     ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น วรรณะ คือ
 
วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน
 
วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ)
 
การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก


2.การใช้สีต่างวรรณะ 
     หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณธร้อน 80% สีวรรณะเย็นก็ 20% เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ


3.การใช้สีตรงกันข้าม 
     สีตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรุ้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป
สีตรงข้ามมี คู่ได้แก่ 
สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
 
สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
 
สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม
 
สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
 
สีส้มเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงน้ำเงิน
 
สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน

สีร้อน (สีอุ่น) Warm Colors
นับจากโทนสีเหลือง ชมพู แดง ส้ม ม่วง น้ำตาล สีเหล่านี้ให้ความหมายที่เร่าร้อน ก้าวร้าว มีอิทธิพลต่อการดึงดูดและกระตุ้นอารมณ์ได้ มากมายกว่าโทนสีอื่นๆ สีเหล่านี้จะใช้มากกับงานประเภท หัวหนังสือ นิตยาสาร แค้ตตาล้อก ตลอดจนป้ายโฆาราต่างๆซึ่งจะกระตุ้นความสนใจต่อผู้พบเห็นได้เร็ว
สีโทนร้อน คือสีที่ให้ความหมาย รื่นเริง สดชื่น ฉูดฉาด บาดอารมณ์ 


สีเย็น (Cool Colors)
เริ่มจากสีเทา ฟ้า น้ำเงิน เขียว สีโทนนี้จัดอยู่ในสีโทนเย็น ให้ อารมณ์ความรู้สึก สงบ สะอาด เย็นสบาย 

สีขาว (White)
คือสีแห่งความสะอาด บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา เหมือนกับสำนวนที่ ชอบพูดว่า "เด็กที่เกิดมาเหมือนผ้าขาวที่ยังไม่มีรอยแปดเปื้อน"

สีดำ (Black)
คือ สัญลักษณ์แห่งความโศกเศร้าและความตาย และบางความหมายใช้แทนความชั่วร้าย ในความหมายของคนยุโรป อเมริกา แทนความเป็นผู้ดี ขรึม มั่นคง 

สีแดง (Red)
คือสีแห่งความกระตือรือร้น เร่าร้อน รุนแรง สะเทือนอารมณ์ มีพลังความสว่างโชติช่วง เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ดึงดูด ความสนใจ หากเป็นสีชมพู ซึ่งความเข้มของสีจะจางลงจะให้ความรู้สึกหวานโรแมนติก 

สีเหลือง (Yellow)
คือสีแห่งความสุขสดชื่น ร่าเริงมีชีวิตชีวา เป็นสีที่เข้าได้กับทุกสี 

สีเขียว (Green)
คือสีของต้นไม้ ใบหญ้า เป็นสัญลักษณ์ของความสงบ เรียบง่าย ความเข้มของสีเขียวให้ความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ 

สีฟ้า (Blue)
คือ สีแห่งท้องฟ้าและน้ำทะเล เป็นสัญลักษณ์ของความสงบ เยือกเย็น มั่นคง แต่เต็มไปด้วยพลัง หากเป็นสีฟ้าอ่อนจะให้ความรู้สึก สดชื่น สวยงาม กระฉับกระเฉงเป็นหนุ่มสาว 

สีม่วง (Purpke)
คือสีแห่งความลึกลับ ซ่อนเร้น เป็นสีที่มีอิทธิพลต่อจิตนาการ และความอยากรู้อยากเห็นหับเด็ก เช่น เรื่องเทพนิยายต่างๆ 

สีน้ำตาล (Brown)
เป็นสีสัญลักษณ์แห่งความร่วงโรยเปรียบเสมือนต้นไม้มีใบร่วงหล่นเมื่อถึงอายุขัย เป็นสีที่ให้ความหมายดูเหมือนธรรมชาติ เช่น สีน้ำตาลอ่อนและสีแก่นของลายไม้เป็นต้น 

สีแจ๊ด (Vivid Colors)
คือสีที่สะดุดตาเร็วมองเห็นได้ไกล โทนสีตัดกันแบบตรงข้าม เช่น แดงกับดำ เหลืองกับน้ำเงิน เขียวกับแดง ดำกับเหลืองเป็นต้น สีจำพวกนี้นิยมใช้กันมากในงานของเด็กเล่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร ประเภทฟาสท์ฟู้ด ค่าเฟ่ ข้อเสียของสีประเภทนี้หากใช้จำนวนสีมากจะดูลายตา พร่า วิธีใช้ที่ดีควรใช้หนึ่งหรือสองสีเป็นตัวเน้นหนัก 

สีจาง (สีอ่อน) Light Colors
ให้ความหมายที่ดูอ่อนโยน เบาหวิวเหมือนคลื่นเมฆหรือปุยฝ้าย ช่วยทำให้พื้นที่ที่แคบดูให้กว้างขึ้น โทนสีจำพวกนี้จะใช้กันมากกับเสื้อผ้า สตรี ชุดชั้นใน แฟชั่นชุดนอน ในงานศิลปะบางอย่างใช้สีอ่อน เป็นพื้นฉากหลัง เพื่อขับให้รูปทรงลอยเด่นขึ้น 

สีทึบ (Dull Color)
คือสีอ่อนที่ค่อนข้างเข้มหรือสีที่เจือจางลง ให้ความรู้สึกที่ สลัวลาง มัว บางครั้งดูเหมือนฝัน และดูคลายเครียด 

สีมืดทีบ (Dark Colors)
ให้ความรู้สึกหนัก แข็งแกร่ง เข้ม มีพลัง สังเกตดูได้จากสีเครื่องแต่งกายของทหาร สีสูทของผู้ชาย ชุดฟอร์มของช่าง เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558



ชีวิตหลังความตาย... 

กับข้อพิสูจน์เรื่อง “ผี” และ “เทวดา” 
............................................................ 
      หลายคนปรารถนาความตาย...ขณะที่อีกหลายคนก็ไม่อยากให้เวลานั้นมาถึง...ต่างคนก็ต่างจิตต่างใจกันออกไป แต่ “ความตาย” ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนทุกชีวิตในโลกไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพียงแต่จะช้าหรือจะเร็วเท่าใดแค่นั้น 
เรื่องราวของความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิต “หลังความตาย” 
ดร.สนอง วรอุไร อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สมัยก่อนไม่เคยเชื่อเรื่องเทวดา นรก สวรรค์ เปรต ชาติภพ การเวียนว่ายตายเกิด เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ จนกระทั่งเรียนจบจากต่างประเทศ ระหว่างที่รอสอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วงนั้นว่างไม่รู้อะไรดลใจให้อยากพิสูจน์สิ่งที่ไม่เคย 
1 เดือนเต็มๆ กับการปฏิบัติกรรมฐานที่วัดมหาธาตุ ส่งผลทำให้ความเชื่อของ ดร.สนองเปลี่ยนไป จนถึงขนาดกล่าวว่า 
“ความเป็นวิทยาศาสตร์ที่ร่ำเรียนมาถอดทิ้งหมดเลย เพราะสามารถสัมผัสเทวดา ผีข้างถนนได้จริงๆ ซึ่งผมพยายามพิสูจน์มากว่า 30 ปียังหาข้อผิดพลาดไม่ได้ คุณจะสัมผัสได้ทั้งเทวดาและผี จิตวิญญาณทุกตน หากมีจิตสื่อถึงคนนั้น” 
       นอกจากจะได้สัมผัสเทวดา ผี แล้ว ดร.สนอง บอกว่ายังได้เห็นชาติภพที่ผ่านมา รู้ว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง ตรงนี้ทำให้รู้ว่าทุกคนมีการเวียนว่ายตายเกิด เกิดเป็นเทวดา เป็นเปรต เป็นสัตว์ ส่วนชาติภพไหนจะเกิดเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่ทำบุญ สร้างกรรมไว้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหลังจากรับรู้แล้วก็ได้เริ่มสร้างสิ่งดีๆ มาตลอด เริ่มจากสิ่งใกล้ตัวไม่สร้างความเดือดร้อนหรือล่วงเกินใคร ทั้งทางกาย วาจา ใจ และทำบุญทำทาน อุทิศส่วนบุญให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ให้พวกเขารับผลบุญนี้ ดร.สนอง กล่าวถึงคนตายว่า ร่างกายตายแต่วิญญาณยังวนเวียนอยู่กับญาติ พี่น้อง คนรัก เนื่องจากความรักความผูกพันของผู้ตาย ซึ่งหลายคนมองไม่เห็น แต่คนตายเขาต้องการให้รับรู้ว่าเขามาหา จึงสัมผัสได้จากกลิ่น เสียง หรืออื่นๆ และที่ว่ากันว่าหมาหอนเพราะเห็นผีนั้น “เป็นเรื่องจริง” เนื่องเพราะหมามีสายตา จมูก ที่รับรู้ได้รวดเร็วกว่าคน  “จิตครั้งสุดท้ายก่อนจะออกจากร่าง อยากให้นึกถึงบุญ ความดี ที่เคยทำระหว่างที่มีชีวิตอยู่ หรือนึกถึงพระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะ เพราะผลบุญเหล่านี้จะช่วยให้ดวงวิญญาณก่อนออกจากร่างไปสู่สวรรค์ ถ้านึกคิดแต่เรื่องทุกข์ สิ่งที่ไม่ดี มีอกุศลจิต ตายไปอาจตกนรก ทั้งที่ตลอดชีวิตทำดีมาตลอด อย่างไรก็ตาม ทุกคนจะได้สัมผัสทั้งนรกและสวรรค์เพียงแต่จะอยู่ที่ไหนยาวนานเท่านั้น หากทำความดีเยอะก็ได้รับความสุขสบายอยู่บนสวรรค์”ดร.สนองแนะนำวิธีการเตรียมตัวก่อนสิ้นใจ 
ด้าน ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาพระพุทธศาสนา มนุษย์เวียนว่ายตายเกิด บางรายตายแล้วเกิดใหม่ทันที และกว่าจะเกิดเป็นมนุษย์มีขั้นมีตอน คือรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ไม่ว่าสุข ทุกข์ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา พอคลอดการเลี้ยงดู ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ทำกรรมดีกรรมชั่ว 
ดังนั้น ทุกคนควรเตรียมตัวตายไว้ล่วงหน้า ก่อนร่างกายดับสนิท และก่อนลมหายใจสุดท้าย อยากให้ตั้งจิตอธิษฐานว่าเกิดชาติหน้าอยากเป็นอะไรไว้ด้วย “ตั้งจิต สมาธิ และอย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่รัก ไม่ว่าจะคน ทรัพย์สินเงินทอง เพราะยิ่งรักมากก็จะทุกข์มาก อยากให้ปล่อยวาง เราเกิดมาแต่ตัวเราก็ไปแต่ตัวเช่นเดียวกัน แล้วหมั่นกระทำความดีตลอดช่วงเวลาที่มีลมหายใจอยู่ เพื่อให้บุญกุศลนี้ช่วยให้ขึ้นสวรรค์” 
ถึงตรงนี้ คงต้องบอกว่า...เชื่อไม่เชื่ออย่างไร... 
ก็ต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินเอาเองก็แล้วกัน